ทุกวันนี้การใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ด (Barcode Scanners) เป็นเรื่องปกติที่พบเห็นได้ทั่ว ไม่ว่าจะในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ โรงพยาบาล หน่วยงานราชการ หรือธรุกิจส่วนตัวต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เราจะสังเกตได้ว่ามีการใช้เจ้าเครื่องสแกนบาร์โค้ดคู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์
แต่รู้หรือไม่? เครื่องสแกนบาร์โค้ดแต่ละรุ่นมีอินเทอร์เฟซ (Interface) หรือการใช้สายไม่เหมือนกัน คอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นมีการเชื่อมต่อทางกายภาพและโปรโตคอลการสื่อสารที่มีการรองรับและความเหมาะสมกับเครื่องสแกนบาร์โค้ดแตกต่างกัน
บทความนี้เราจะพาคุณมาทำความเข้าใจกับ อินเทอร์เฟซสำหรับเครื่องสแกนบาร์โค้ด ทั้ง Serial, Keyboard Wedge และ USB เพื่อให้คุณเลือกใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดที่มีอินเทอร์เฟซเหมาะสมกับคอมพิวเตอร์คุณ
สารบัญ
อินเทอร์เฟซ การเชื่อมต่อทางกายภาพ และโปรโตคอลการสื่อสาร
เมื่อพูดถึงคำว่า อินเทอร์เฟซ การเชื่อมต่อทางกายภาพ หรือโปรโตคอลการสื่อสาร หลาย ๆ คนอาจจะงงเป็นไก่ตาแตก คำเหล่านี้หมายถึงอะไร แต่ให้สบายใจได้เลย เพราะเราได้สรุปความหมายของแต่ละคำมาให้คุณได้ทำความเข้าใจง่าย ๆ
อินเทอร์เฟซคืออะไร?
อินเทอร์เฟซ (Interface) หมายถึงการเชื่อมต่อเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เราจึงมักเห็นคำว่า User Interface บ่อย ซึ่งหมายถึง การติดต่อประสานกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ เช่น แป้นพิมพ์ หรือจอภาพ ต่างก็เป็นตัวประสานกับผู้ใช้ทั้งสิ้น ซึ่งในที่นี้ อินเทอร์เฟซ คือ สายหรือพอร์ต ที่เชื่อมต่อเครื่องสแกนบาร์โค้ดกับคอมพิวเตอร์นั่นเอง
ในการเชื่อมต่อเครื่องสแกนบาร์โค้ดเพื่อการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 2 ปัจจัยที่สำคัญ คือ การเชื่อมต่อทางกายภาพ และ โปรโตคอลในการสื่อสาร
การเชื่อมต่อทางกายภาพคืออะไร?
การเชื่อมต่อทางกายภาพ (Physical Connection) คือการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่านสายเคเบิล สายออปติคัล หรือเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สาย
โปรโตคอลในการสื่อสารคืออะไร?
โปรโตคอลในการสื่อสาร (Communication Protocols) คือ ชุดข้อบังคับ ข้อกำหนด หรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ อาจเทียบได้ว่าเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสาร เมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับคอมพิวเตอร์ โปรโตคอลจะช่วยให้สามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจ หากไม่มีโปรโตคอลจะไม่สามารถสื่อสาร หรือทำงานร่วมกันได้
อินเทอร์เฟซ RS232 หรือพอร์ต Serial
RS232 (Recommended Standard no.232) คือ ชื่อเรียกของพอร์ตแบบอนุกรม หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าพอร์ต Serial ลองเช็คพอร์ตของเครื่องคอมพิวเตอร์คุณ หากมีพอร์ต RS232 คุณอาจจำเป็นต้องใช้คอนเนคเตอร์ 9 พินในการเชื่อมต่อ
ทั้งนี้ คุณอาจจะต้องใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอกมาช่วยเสริมด้วย โดยทั่วไป ชุดอุปกรณ์เครื่องสแกนบาร์โค้ดพอร์ต RS232 ที่ขายในท้องตลาด จะมีตัวเครื่องสแกนเนอร์ สายเคเบิลอินเทอร์เฟซ 9 พิน และเพาเวอร์ซัพพลายรวมอยู่ในแพ็คเกจ
ลองดูว่าตอนนี้คุณกำลังใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดร่วมกับโปรแกรมขายหน้าร้าน POS (Point of Sale) อยู่หรือเปล่า?
ถ้าใช่ คุณอาจต้องใช้ Registered Jack (RJ) หรือหัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว ดังนั้น แหล่งพลังงานภายนอกอาจไม่จำเป็น
เครื่องสแกนบาร์โค้ดถูกตั้งโปรแกรมให้ทำงานร่วมกับระบบขายหน้าร้าน POS ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เฟซด้วยสายเคเบิลที่ต่างกัน เป็นอินเทอร์เฟซแบบมีกรรมสิทธิ์ หรือที่เรียกว่า Proprietary Interface
คำแนะนำสำหรับการเชื่อมต่อ
สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows เมื่อเชื่อมต่อเครื่องสแกนบาร์โค้ดพอร์ต RS232 เข้ากับคอมพิวเตอร์แล้ว ให้เข้าไปที่การตั้งค่า Device Manager คลิกที่ Ports และตั้งค่า address ให้อยู่ใน COM
โดยทั่วไปแล้ว พอร์ตคอมพิวเตอร์จะถูกตั้งชื่อว่า “COM 1” โปรแกรมและเครื่องสแกนของคุณจะต้องตั้งค่า address ให้อยู่ใน COM เดียวกัน เพื่อให้เชื่อมต่อระหว่างกัน
Barcode scanners │rs-232 interface
อินเทอร์เฟซ Keyboard Wedge
Keyboard Wedge (KBW) หรือที่เรียกกันว่า PS/2 คือพอร์ตที่เชื่อมต่อแบบกายภาพและใช้โปรโตคอลในการสื่อสารแบบเดียวกันกับพอร์ตสำหรับสายคีย์บอร์ด ข้อมูลที่ได้มาจากการสแกนจะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Host Computer) ในลักษณะเหมือนกับการพิมพ์ลง
เวลาสแกน ต้องเช็คหน้าต่างและเคอเซอร์ให้ดี เหมือนกับเวลาจะใช้คีย์บอร์ดพิมพ์
ชุดอุปกรณ์เครื่องสแกนบาร์โค้ดพอร์ต Keyboard Wedge ประกอบไปด้วย สายเคเบิลรูปตัว Y ที่ไว้เชื่อมต่อ (wedge) เครื่องสแกนเข้ากับคีย์บอร์ดและคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่เครื่องสแกนบาร์โค้ดที่มีพอร์ตแบบนี้จะใช้พลังงานจากพอร์ตคีย์บอร์ด ซึ่งเพียงพอต่อการทำงาน จึงไม่ต้องพึ่งพาเพาเวอร์ซัพพลายนอก
อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่หลายเครื่องไม่รองรับเครื่องสแกนบาร์โค้ดพอร์ต Keyboard Wedge แล้ว แบบที่ใช้กันโดยทั่วไปคือพอร์ต USB
Barcode scanners │keyboard wedge interface
อินเทอร์เฟซ USB
USB (Universal Serial Bus) คือพอร์ตที่เชื่อมต่อแบบกายภาพ เครื่องสแกนบาร์โค้ดพอร์ต USB นิยมนำมาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด พอร์ตประเภทนี้สามารถให้พลังงานที่เพียงพอต่อตัวเครื่องสแกน
เครื่องสแกนบาร์โค้ดอินเทอร์เฟซ USB มีโปรโตคอลในการสื่อสารต่อไปนี้
การจำลองคีย์บอร์ด USB (USB Keyboard Emulation) : เครื่องสแกนบาร์โค้ดพอร์ต USB ส่วนใหญ่มีค่าเริ่มต้นในการทำงานลักษณะเหมือนกับการพิมพ์คีย์บอร์ดที่ไม่ต่างไปจากเครื่องสแกนบาร์โค้ดพอร์ต Keyboard Wedge
การจำลองพอร์ต COM (COM Port Emulation) : เครื่องสแกนบาร์โค้ด USB สามารถจำลอง COM Port ได้ โดยใช้ไดร์เวอร์ซอฟท์แวร์ จึงสร้างความยืดหยุ่นในการจัดการกับอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่าลืมว่า โปรแกรมและเครื่องสแกน จะต้องตั้งค่า address ให้อยู่ใน COM เดียวกัน
โปรโตคอล Human Interface Device (HID) : มีหลายอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต USB ด้วยโปรโตคอล USB HID ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ดหรือเมาส์ คีย์บอร์ด HID สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ในทิศทางเดียวเท่านั้น เครื่องสแกนบาร์โค้ด HID มีการสื่อสารแบบสองทิศทาง ซึ่งเพิ่มประโยชน์ต่อการใช้งานร่วมกับโปรแกรม
Barcode scanners │usb interface
บทสรุป
หากคุณกำลังมองหาเครื่องสแกนบาร์ดโค้ดไว้ใช้งาน แน่นอนว่าสิ่งแรก ๆ ที่คุณพิจารณาคือประเภท คุณสมบัติ และราคา ประเด็นสำคัญที่ไม่ควรพลาดเพื่อให้ได้เครื่องสแกนบาร์โค้ดที่ทั้งดีต่อการใช้งานและเหมาะกับคอมพิวเตอร์คือ การเลือกรูปแบบอินเทอร์เฟซ
ดังนั้น ให้ตรวจสอบว่าโปรแกรมอ่านบาร์โค้ดนั้นรองรับการเก็บข้อมูลผ่านอินเทอร์เฟซแบบใด คุณสามารถสังเกตได้จากเอกสารหรือคู่มือที่มาพร้อมกับตัวโปรแกรม หากไม่แน่ใจ ให้ติดต่อกับผู้จัดจำหน่ายโปรแกรมของคุณ นอกจากนี้เครื่องสแกนบาร์โค้ดบางรุ่นยังสามารถใช้งานได้กับทุกอินเทอร์เฟซ
เลือกดูเครื่องสแกนบาร์โค้ดอินเทอร์เฟซที่คุณสนใจได้เลย