ในปัจจุบันนี้ มีการใช้บาร์โค้ด คิวอาร์โค้ด อย่างหลากหลาย มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อตอบสนองการใช้งาน ให้ครอบคลุม ทั้งธุรกิจ และการใช้งานด้านอื่นๆ
นั่นทำให้ เครื่องสแกนบาร์โค้ดก็ต้องมีการพัฒนา เพื่อให้มีความสามารถในการอ่าน ประมวลผล ความเร็วในการใช้งานที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
เครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบ Image Scanner เป็นเทคโนโลยีล่าสุด ที่พัฒนาระบบหัวอ่าน เครื่องอ่านบาร์โค้ดให้ก้าวหน้า ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ แม่นยำ รวดเร็ว และสะดวกขึ้น
หลายคนอาจจะรู้จัก linear scanner มาบ้างแล้ว บทความนี้จะช่วยให้คุณรู้จักเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบรูปภาพ เพื่อให้คุณเลือกใช้งานเทคโนโลยี Barcode Scanner ได้อย่างคุ้มค่า
สารบัญ
Handheld Scanner
ชนิดหัวอ่านเครื่องสแกนบาร์โค้ด
เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบ่งตามลักษณะหัวอ่าน ได้ดังนี้
1 CCD Scanner (Charge Coupled Device Scanner)
เป็นเทคโนโลยีการอ่านบาร์โค้ดที่เก่าแก่กว่ารูปแบบอื่น ๆ การทำงานจะอาศัยการสะท้อนของแสงจากรหัสแท่งและช่องว่าง แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณวีดีโอ
ข้อดี ราคาถูก, ทนทาน, ใช้พลังงานน้อย, สแกนหน้าจอได้
ข้อเสีย ต้องยิงในระยะใกล้ และบาร์โค้ดต้องมีลักษณะผิวเรียบ
เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD ยังคงได้รับความนิยม เพราะราคาค่อนข้างถูก ใช้งานได้ยาวนาน คุ้มค่า และที่สำคัญคือสามารถสแกนหน้าจอโทรศัพท์ได้
2. Laser Scanner
การยิงจะใช้แสงเลเซอร์ยิงผ่านกระจกและไปตกกระทบที่ตัวบาร์โค้ด เพื่ออ่านข้อมูลจากแสงสะท้อนที่ย้อนกลับมาที่ตัวรับแสง ในการยิงจะเป็นการฉายแสงเลเซอร์ออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว มีขนาดเล็ก และความถี่เดียว แสงเลเซอร์จึงไม่กระจายออกไปนอกพื้นที่ที่ต้องการอ่านข้อมูล ทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี
ข้อดี อ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี สามารถอ่านข้อมูลบาร์โค้ดในระยะที่ห่างจากตัวบาร์โค้ดได้พอสมควร และประมวลผลค่อนข้างเร็ว แม่นยำ สแกนได้แม้ป้ายบาร์โค้ดสั่นไหว
ข้อเสีย ไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดจากหน้าจอได้
เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ มีทั้งแบบพกพาติดตัวและการติดตั้งอยู่กับที่ ในหลายๆ รุ่นยังสามารถตั้งให้ทำงานโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีแถบบาร์โค้ดเคลื่อนผ่านหน้าหัวอ่าน โดยจะประยุกต์ใช้ร่วมกับขาตั้งเครื่องอ่านบาร์โค้ด
3. Omnidirectional Scanner
เป็นเครื่องอ่านแบบเลเซอร์ ลักษณะการทำงานเหมือนกัน แต่มีการฉายแสงเลเซอร์ออกมาหลายเส้นหลายทิศทาง มีลักษณะตัดกันไปมาเหมือนใยแมงมุม ซึ่งจะเหมาะกับการอ่านบาร์โค้ดบนสินค้าซึ่งไม่ได้มีการติดตั้งตำแหน่งของบาร์โค้ดในจุดเดียวกันเสมอๆ
ข้อดี แสงเลเซอร์ที่มีหลายเส้น ทำให้สามารถอ่านได้รวดเร็ว
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างสูง
เครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบใยแมงมุมจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน แต่จะมีราคาที่สูงกว่าเครื่อง Laser Scanner จึงมักนิยมใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
4. Imager Scanner
เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ใช้หลักการในการจับภาพของตัวบาร์โค้ด เช่นเดียวกันกับกล้องถ่ายรูป
ข้อดี สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ได้ ทำงานได้ในระยะห่างจากบาร์โค้ดมากยิ่งขึ้น อ่านและประมวลผลได้ดีกว่าCCD แต่ทนทานเช่นกัน มีความแม่นยำสูง
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างสูง
1d Barcode Scanner
เครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบรูปภาพ เป็นเทคโนโลยีที่หลายคนไม่คุ้นเคย บทความนี้จะมาแนะนำให้รู้จักหลักการทำงาน
เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบรูปภาพ คืออะไร
เครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบรูปภาพ (Image Scanner) หรือ linear scanner หรือ Linear Imaging เป็นเครื่องอ่านที่ใช้หลักการอ่าน โดยวิธีจับภาพโดยเลนส์รับภาพ เช่นเดียวกันกับกล้องถ่ายรูป และใช้เทคนิคการประมวลผลภาพที่ทันสมัยในการถอดรหัสบาร์โค้ด เครื่องอ่านบาร์โค้ดประเภทนี้จะมีเลนส์อยู่ตรงกลางหัวอ่าน
ระบบหัวอ่านมีความสามารถในการอ่านในเชิงเรขาคณิตสูงกว่าเครื่องอ่านแบบ CCD แต่ที่แตกต่างคือความละเอียดที่สูงขึ้น สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมากๆ ได้ มีความทนทานเหมือนเครื่องสแกนแบบ CCD ประมวลผลข้อมูลได้เร็วกว่า จนเกือบเท่าเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์
ระบบหัวอ่านมีความสามารถในการอ่านในเชิงเรขาคณิตสูงกว่าเครื่องอ่านแบบ CCD แต่ที่แตกต่างคือความละเอียดที่สูงขึ้น สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมากๆ ได้ มีความทนทานเหมือนเครื่องสแกนแบบ CCD ประมวลผลข้อมูลได้เร็วกว่า จนเกือบเท่าเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์
2D Barcode scanner
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเครื่องสแกนบาร์โค้ดImager
– ความละเอียดของภาพ
หนึ่งในความแตกต่างที่สำคัญที่สุดในการเลือกเซ็นเซอร์ภาพหรือกล้องคือ ความละเอียดของภาพ หมายถึง จำนวนพิกเซลที่ประกอบเป็นภาพแต่ละภาพ
เมื่อพูดถึงการจับคู่ความละเอียดของโปรแกรมอ่านตามรูปภาพกับแอปพลิเคชัน หนึ่งในเกณฑ์ที่พบบ่อยที่สุดคือพิกเซลต่อโมดูล (PPM) PPM หมายถึง จำนวนพิกเซลที่จะต้องใช้เพื่อให้ครอบคลุมหนึ่งเซลล์หรือโมดูลของโค้ด และจะยืนยันว่ากล้องมีความละเอียดเพียงพอที่จะอ่านโค้ดหรือไม่
PPM คำนวณโดยการหารความละเอียดของกล้องในทิศทางเดียว (เช่น 752 พิกเซลสำหรับตัวอ่านความละเอียดมาตรฐาน) ด้วยระยะการมองเห็น Y ในหน่วยมิลลิเมตร (78 มม.) แล้วหารขนาดโค้ดเป็นมิลลิเมตรด้วยโมดูล (12 มม./22 โมดูล) สุดท้าย คูณตัวเลขเหล่านี้เข้าด้วยกัน (5.26 PPM)
อย่างไรก็ตาม มีแอพหรือซอฟต์แวร์ประมวลผลรูปภาพที่ทำงานบนเครื่องอ่านเหล่านี้ สามารถคำนวณ PPM ได้อย่างรวดเร็ว
– เลนส์ (Lenses)
ออปติกของเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบรูปภาพ เป็นสิ่งสำคัญเพื่อได้ภาพบาร์โค้ดที่ดี เครื่องอ่านคุณภาพมีให้เลือกทั้งเลนส์ S- และ C-mount ขึ้นอยู่กับจำนวนความละเอียดที่ต้องการในระยะการทำงานที่กำหนดเพื่อให้ได้ภาพโค้ด
เครื่องอ่านรุ่นล่าสุดนำเสนอเทคโนโลยีโฟกัสอัตโนมัติ หรือ liquid lens ซึ่งช่วยให้เครื่องอ่านสามารถปรับให้เข้ากับระยะการทำงานที่เปลี่ยนแปลงได้ มีลักษณะการทำงานแบบเดียวกับตามนุษย์ โดยการปรับรูปร่างและการโค้งงอเพื่อโฟกัส การปรับโฟกัสใหม่นี้ทำได้โดยใช้ซอฟต์แวร์ ไม่ต้องปรับเลนส์ด้วยตนเอง
– แสงสว่าง (Lighting)
เพื่อให้ได้ภาพโค้ดที่สวยงาม การจัดแสงเป็นสิ่งสำคัญมาก กลยุทธ์การจัดแสงต้องการตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสงที่สัมพันธ์กับโค้ดและตัวอ่าน เครื่องสแกนบาร์โค้ดอุตสาหกรรมมีตัวเลือกแสงในตัวและแสงภายนอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและการใช้งาน
แสงสว่างมีส่วนสำคัญในการรับรหัสภาพ Barcode Reader แบบเครื่องอ่านบาร์โค้ดด้วยภาพ สามารถนำแสงทั้งภายในและภายนอกมาปรับใช้รวมกันได้
Desktop Barcode Scanner
บทส่งท้าย
เครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบภาพถ่าย คืออุปกรณ์ที่จะนำมาทดแทนเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อาหาร สินค้าบริโภค บริโภค เวชภัณฑ์ และรถยนต์ แต่ระบบอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายนั้นมีสิ่งที่ควรต้องคำนึงถึง คือ ต้นทุนที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีในท้องตลาดก็มีหลายแบบให้เลือก มีหลายแบรนด์ เช่น Schlongen , Honeywell, Newland และ Zebra คุณภาพและราคาที่สมเหตุสมผล สามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ โดยเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำ
หากคุณต้องการพิจารณาว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไหนที่เหมาะกับคุณ ลองกลับไปอ่านได้ที่บทความ เคล็ดลับในการเลือกเครื่องสแกนบาร์โค้ดที่ดีที่สุด
สนใจเลือกซื้อเครื่องสแกนบาร์โค้ดแบรนด์ไหน เลือกซื้อได้จากลิงค์ด้านล่าง เราพร้อมส่งตรงถึงบ้านคุณ