การเชื่อมต่อเครื่องสแกนบาร์โค้ดมือจับเข้ากับคอมพิวเตอร์นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ด้วยอินเทอร์เฟซ (Interface) ที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมและความต้องการในการใช้งาน อินเทอร์เฟซในที่นี้คือ การเชื่อมต่อทางพอร์ตด้วยสายและไร้สาย เมื่อเราลองสังเกตคุณสมบัติของเครื่องสแกนบาร์โค้ดแต่ละรุ่น จะเห็นว่ามีอินเทอร์เฟซหลากหลายเช่น RS232, Keyboard Wedge, USB, Wi-Fi, หรือ Bluetooth ซึ่งหลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกับอินเทอร์เฟซเหล่านี้
Ethernet หรือ อีเทอร์เน็ต คืออินเทอร์เฟซหนึ่งที่ส่วนใหญ่พบได้ในเครื่องสแกนบาร์โค้ดสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ (Industrial Ethernet Barcode Scanners) ซึ่งเป็นเครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบ Fixed Mount หรือแบบ Imager Scanners
แม้ว่า Ethernet ยังไม่เป็นที่นิยมนำมาใช้ในเครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบมือจับหรือ Handheld เนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ตัวเลขราคาที่สูงนั้นได้มอบคุณสมบัติในการใช้งานที่เหนือกว่าเครื่องสแกนบาร์โค้ดมือจับที่มีอินเทอร์เฟซยอดนิยมอย่าง USB
ในบทความนี้ เราจะขอเจาะถึงคุณสมบติของเครื่องสแกนบาร์โค้ดมือจับอินเทอร์เฟซ Ethernet ที่เหนือกว่าอินเทอร์เฟซ USB
เลือกดูเครื่องสแกนบาร์โค้ด USB ที่น่าสนใจ
สารบัญ
เครื่องสแกนบาร์โค้ด Ethernet คืออะไร
อีเทอร์เน็ต (Ethernet) คือชื่อเรียกโปรโตคอลการสื่อสารของเครือข่าย (Network Communication Protocol) หรือ การสื่อสารระดับล่างของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต LAN ชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดยขึ้นโดย 3 บริษัทคือ บริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายมาตรฐานของ IEEE 802.3 ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
หากคุณสงสัยว่าโปรโตคอล คืออะไร สามารถทำความเข้าใจกับคำเหล่านี้ได้ที่บทความ เครื่องสแกนบาร์โค้ดอินเทอร์เฟซ Serial/Keyboard Wedge/USB เลือกใช้แบบไหนดี?
อีเทอร์เน็ตส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงหลากหลายระดับตั้งแต่ Fast Ethernet (FE) ที่ทำได้ 10 Mbps Gigabit Ethernet (GbE) ที่ทำได้ 1 Gbps ไปจนถึง Terabit Ethernet (TbE) ที่สามารถทำได้มากกว่า 100 Gbps มาตรฐานของอีเทอร์เน็ตอยู่ภายใต้การควบคุมของสถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers) หรือ IEEE
การเชื่อมต่อแบบอีเทอร์เน็ตสามารถทำได้ทั้งแบบใช้สายเคเบิลหรือสายแลน และไร้สายหรือ Wi-Fi ภายในเครือข่าย LAN โดยเป็นการสื่อสารและการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ภายในเน็ตเวิร์ก
สำหรับเครื่องสแกนบาร์โค้ดที่มีอินเทอร์เฟซ Ethernet จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต Ethernet หรือ สาย Ethernet ที่เรียกกันว่าสายแลน (LAN) ซึ่งมีแบรนด์ที่ผลิต เช่น Cognex
เครื่องสแกนบาร์โค้ด USB คืออะไร
USB (Universal Serial Bus) คือ ช่องทางการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล การจ่ายพลังงานไฟฟ้าในลักษณะของการชาร์จแบตเตอรี่ หรือเชื่อมต่อเพื่อการใช้งาน เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องพิมพ์ ได้รับการพัฒนาโดย USB-IF หรือ USB Implementers Forum
ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสำหรบ USB ขึ้นอยู่กับรุ่นที่แตกต่างกัน ซึ่งมีตั้งแต่ USB 1.0, 2.0, 3.0 และ USB 4 โดยรุ่นที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือพอร์ต USB 3.0 มีความเร็วสูงสุดขณะใช้งานอยู่ที่ 5 Gbps
นอกจากนี้พอร์ต USB 3.0 ยังมีรุ่นย่อยอีก ได้แก่ USB 3.1 ที่มีความเร็วเพิ่มเป็น 10 Gbps และ USB 3.2 ที่อยู่ในรูปแบบพอร์ต USB-C และรองรับการทำงานหลายช่องทางพร้อมกัน (Multi-lane Operation) โดยมีความเร็วขณะใช้งานถึง 20 Gbps
ในขณะที่รุ่นล่าสุดอย่าง USB 4 ยังคงสามารถใช้งานร่วมกับ USB 2.0 และ USB 3.0 ได้ อีกทั้งยังคงใช้ขั้วต่อ USB Type-C เหมือนกับอุปกรณ์ที่เป็น USB 3.2 อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันจะต้องมีพอร์ต การใช้งาน และสายที่รองรับ USB 4
เทคโนโลยี USB ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในเครื่องสแกนบาร์โค้ด โดยจะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต USB หรือ สาย USB ซึ่งหาซื้อได้ง่าย มีหลากหลายแบรนด์ให้ได้เลือก
เลือกดูเครื่องสแกนบาร์โค้ด USB ที่คุณสนใจ
คุณสมบัติเครื่องสแกนบาร์โค้ด Ethernet ที่เหนือกว่า USB
การทำงานของเครื่องสแกนบาร์โค้ด Ethernet ในระดับ Control Level ร่วมกับอุปกรณ์อื่นที่รองรับการเชื่อมต่อด้วยโปรโตคอล Ethernet จะช่วยทำให้ Black Box หรือ หน้าต่างสี่เหลี่ยมสีดำบนจอไม่ว่าจะในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แปลภาษาบาร์โค้ดอื่นหายไป และยังสื่อสารโดยตรงภายใน PLC (Programable Logic Controller) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานกระบวนการผลิต
อินเทอร์เฟซ Ethernet เปรียบเหมือนจุดเชื่อมระหว่างเครือข่ายที่มี IP address แบบไม่เปิดเผย สามารถเข้าถึงได้จากอุปกรณ์ในการรับและส่งข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ หรือ เทอร์มินอล (Terminal) ในเครือข่าย
3 คุณสมบัติที่เหนือกว่าของเครื่องสแกนบาร์โค้ด Ethernet มอบแก่ผู้ใช้งาน
การใช้งานเครื่องสแกนบาร์โค้ดอินเทอร์เฟซ USB โดยทั่วไปเป็นที่ตอบโจทย์ของผู้ใช้งานในแวดวงต่าง ๆ ในขณะที่การใช้รูปแบบอินเทอร์เฟซ Ethernet ก็ยังคงมอบการทำงานที่ครอบคลุมคุณสมบัติเดียวกัน แต่มีคุณสมบัติที่เหนือไปจากนั้น ได้แก่ ความง่ายและสะดวกมากขึ้นเมื่อหยิบมาใช้งาน ขั้นตอนในการติดตั้งที่น้อยและค่าบำรุงรักษาที่ถูกลง และสามารถทำการวินิจฉัยได้จากระยะไกล
ง่ายและสะดวกมากขึ้นเมื่อหยิบมาใช้งาน
ในการใช้งานเครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบมือจับ (Handheld Barcode Scanners) ร่วมกับซอฟท์แวร์การเขียนสคริปต์ (Scripting Software) สำหรับการแจกแจงข้อมูลไม่ให้ซ้ำกันในคอมพิวเตอร์ คุณจำเป็นต้องใช้เครื่องมือสำหรับการแปลภาษาบาร์โค้ดควบคู่ไปด้วย อีกทั้งยังต้องติดตั้งคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในพื้นที่การผลิต ต้องเดินสายไฟ และยังมีข้อจำกัดของพื้นที่ และข้อจำกัดบางอย่างของสาย USB
ฟังดูซับซ้อนไหม? ขั้นตอนต่าง ๆ จะง่ายดายขึ้น เพราะเครื่องสแกนบาร์โค้ด Ethernet นั้นเชื่อมต่อกับฮับในระบบเครือข่ายโดยตรงได้เลย จึงลดความซับซ้อนในระบบการทำงาน
ขั้นตอนในการติดตั้งที่น้อยและค่าบำรุงรักษาที่ถูกลง
เป็นเรื่องปกติที่เราต้องเผื่อค่าใช้จ่ายไว้สำหรับการบำรุงรักษา การอัปเกรดคอมพิวเตอร์ หรือการเปลี่ยนสายไฟชำรุด เพื่อให้การใช้งานร่วมกับเครื่องสแกนบาร์โค้ดดำเนินการต่อไปอย่างสะดวก
ข้อดีที่สำคัญอีกประการหนึ่งของเครื่องสแกนบาร์โค้ด Ethernet คือ การใช้งานที่ไม่จำเป็นต้องใช้คู่กับเครื่องมือช่วยแปลภาษาบาร์โค้ด ค่าใช้จ่ายด้าน IT จึงถูกตัดออกไป นอกเหนือจากนั้น การบำรุงรักษา การปรับเปลี่ยน รวมถึงการอัปเกรดต่าง ๆ ก็สามารถทำได้จากระยะไกล
การวินิจฉัยระยะไกล
การวินิจฉัยในเครื่องสแกนบาร์โค้ดอินเทอร์เฟซ USB และ RS-232 ทุกรุ่นทำได้ด้วยวิธีการใช้กับเครื่องโดยตรงเท่านั้น ด้วยคุณสมบัติที่เหนือกว่าของเครื่องสแกนบาร์โค้ด Ethernet การวินิจฉัยต่าง ๆ สามารถทำได้จากทุกที่ ด้วยเทอร์มินัลในเครือข่าย ผ่าน Ethernet reader
บทสรุป
เครื่องสแกนบาร์โค้ดเป็นที่นิยมใช้ในหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจส่วนตัว ธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งสายหรืออินเทอร์เฟซ USB นั้นเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เหตุผลที่สำคัญประการหนึ่งอาจจะมาจากความคุ้นชินในการใช้งานกับอินเทอร์เฟซ หรือสายประเภทนี้
เทคโนโลยีอินเทอร์เฟซ Ethernet สำหรับเครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบมือจับ (Handheld Barcode Scanners) นั้นอาจยังไม่ได้ใช้กันโดยทั่วไป ด้วยราคาที่สูง จึงอาจไม่ตอบโจทย์ธุรกิจส่วนใหญ่ แต่เมื่อเปรียบเทียบถึงการใช้งาน เครื่องสแกนบาร์โค้ด Ethernet ได้มอบประโยชน์ต่อผู้ใช้งานมากกว่าแบบทั่วไปทั้งในแง่ของความซับซ้อนของระบบ การบำรุงรักษา ต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์
หากคุณยังไม่รู้ว่าเครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบไหนถึงจะดีและเหมาะกับธุรกิจคุณ ลองอ่านบทความ 5 เคล็ดลับในการเลือกเครื่องสแกนบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ที่ดีที่สุด