สมุดบันทึก 3 เล่ม ช่วยจัดระบบความคิดได้

สมุดโน้ต notebook

การประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน อย่างหนึ่งที่เราต้องมีคือ การจัดลำดับความสำคัญของงาน เราจึงต้องฝึกจัดระเบียบความคิด ให้เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อจัดระบบให้งาน แยกงานที่สำคัญที่สุด สิ่งที่จำเป็นต้องทำก่อน สิ่งที่ต้องแก้ สิ่งสำคัญแต่ยังไม่ต้องรีบ และเรื่องทั่วไป ซึ่งการจดบันทึกสามารถช่วยได้เป็นอย่างดี

สมุดบันทึก 3 เล่ม ช่วยจัดระบบความคิดได้

สิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาเลือก คือ สมุด เพราะการจดมีหลายรูปแบบ ควรต้องใช้สมุดที่เหมาะสม การจดบันทึกนอกจากจะเป็นรูปแบบของการบันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่เราพบเจอ ไม่ให้หลงลืมไปแล้ว ยังเป็นช่วงเวลาของการเรียบเรียงประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นเพียงความนึกคิด ให้ออกเป็นรูปร่างได้รวดเร็วขึ้นด้วย ฉะนั้น สมุดที่ดี ต้องไม่ใช่แค่รูปร่างหน้าตาสวยงาม แต่ต้องเป็นสมุดที่ได้ใช้จดและนำความคิดที่เรียบเรียงนั้นมาใช้งานได้ในภายหลัง

ความสำคัญของการจดบันทึก

การเขียนบันทึก คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ ความรู้หรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่งที่มา หรือ วัน เวลาที่จดบันทึกได้ด้วย การเขียนบันทึกมี นอกจากช่วยจัดระบบความคิดแล้ว ยังมีข้อดีอีกหลายอย่าง ดังนี้

การเขียนบันทึก

การจดบึนทึกเพิ่มประสิทธิภาพความจำ

การจดบันทึกเพิ่มประสิทธิภาพความจำได้ถึง 34% เชื่อเถอะว่า การจดย่อมดีกว่า การจำ จากการวิจัยของ Lonman and Atkinson พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว คนเรามีโอกาสจำข้อมูลสำคัญๆ ที่ได้ยินโดยไม่จดบันทึกเพียง 5% แต่ถ้าหาก จดบันทึกเรื่องราว เราจะมีสิทธิ์จำได้สูงขึ้นเป็น 34%  

เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สำคัญในชีวิต หรือโมเม้นท์พิเศษๆ รายละเอียดเล็กน้อย ลองเขียนบันทึกเอาไว้กลับมาอ่านทบทวน รับรองว่าช่วยเราได้มาก

การจดบันทึกช่วยทบทวนเหตุการณ์ในชีวิต

การจดบันทึกช่วยทบทวนเหตุการณ์ในชีวิต  แม้เราจะยุ่ง เหนื่อย แค่ไหน แต่ละวันผ่านไปอย่างรวดเร็ว จนแทบไม่ได้ทบทวน ว่าวันนี้ทำอะไรบ้าง เจอเหตุการณ์อะไรบ้าง แล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง

การหยิบปากกามาจดเรื่องราวในแต่ละวัน อาจจะทำให้เราได้เข้าใจความคิดของตัวเอง ทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  และทำให้เรามองเห็นความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิต เพื่อที่จะได้มาปรับแก้ไขให้ดีขึ้นได้ในครั้งต่อไป

การจดบันทึกปลดปล่อยความเป็นตัวเอง ปากกา

การจดบันทึกช่วยปลดปล่อยความเป็นตัวเอง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สมุดโน้ตหรือไดอารี่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของเรา 

ดังนั้นสมุดคืออีกสถานที่หนึ่ง ที่เราสามารถปลดปล่อยความเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่ผ่านตัวหนังสือ ถือว่าเป็นการระบายอารมณ์ที่ดีอย่างหนึ่ง โดยไม่ทำให้ใครเดือดร้อน

เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ หากได้ย้อนกลับมาอ่าน เราจะเห็นพัฒนาการทางด้านความคิด และอารมณ์ของเมื่อก่อนอีกด้วย และเราสามารถพัฒนาข้อผิดพลาด จากสิ่งที่เราเคยทำให้ดีขึ้นได้

สมุด 3 เล่ม ช่วยจัดระบบความคิด

ในชีวิตประจำวันถ้ามีสมุด 3 เล่มนี้ แน่นนอนว่าจะช่วยให้การจัดระบบชีวิต และการทำงานของเราให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้อย่างมาก

สมุด 3 เล่ม ช่วยจัดระบบความคิด

1. Diary บันทึกเรืองราวชีวิตประจำวัน

การเขียน สมุดไอดารี่ diary

สมุดไดอารี่ คือ สมุดบันทึกประจำวัน จดสิ่งต่าง ๆ ที่คุณเจอ เป็นการจดอดีต เป็นการฝึกการเล่าเรื่อง

เมื่อบันทึกเรื่อย ๆ เราจะค้นพบว่า มันเป็นความสนุกในการพูดคุยกับ Diary และตัวเอง เริ่มต้นเขียนง่ายๆ อาจจะเป็นการไล่เรียงเหตุการณ์จากเช้าจรดเย็นที่ได้เจอ คนที่ชอบงาน Craft การจด Diary เมื่อจบวันก็จะเป็นการทบทวนว่า วันนี้ได้พบเจออะไร ยิ่งถ้าเป็นการบันทึกการเดินทางด้วยแล้วจะยิ่งสนุกมาก

ถ้าเราเอาบัตร หรือของต่าง ๆ แปะลงไปใน Diary ด้วย เพิ่มความสนุกและเมื่อเปิดมาอ่านย้อนหลังก็จะเห็นภาพและความทรงจำได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากสมุด ปัจจุบันยังมีการจดบันทึกใน Application ต่าง ๆ ในสมาร์ทโฟนและเว็บไซต์ ซึ่งนอกจากจะบันทึกข้อความแล้วยังมีรูปภาพได้หลากหลาย ที่สำคัญเราสามารถแชร์เรื่องราวให้เพื่อนๆ อ่านได้ด้วย

2. Notebook จดบันทึกเรื่องราวทั่วไป

Talking notes เป็นการเขียนบันทึกสิ่งต่าง ๆ ทั้งสิ่งที่นึกได้ และฟังได้ ไม่ว่าจะเป็นบันทึกการประชุม จด Lecture ซึ่งมีเทคนิคการจดที่นิยมใช้ในการบันทึกดังนี้

สมุดโน้ต

เทคนิคการจดแบบ Bullet

คือเทคนิคการจดแบบง่ายที่สุด ที่นิยมใช้ทั่วไป ด้วยการเขียนเลขด้านหน้า หรือขีดกลาง หรือจุดด้านหน้าทุกครั้งเมื่อเราได้ประเด็นใหม่ การจดแบบนี้ช่วยฝึกให้แยกประเด็นได้ว่า สิ่งที่กำลังฟังนี้เป็นประเด็นใหม่ หรือยังอยู่ในประเด็นเดิม

เทคนิคการจดแบบ Flow Chart

คือการจดแบบกล่องข้อความ แล้วมีลูกศรโยงความสัมพันธ์ถึงกัน การจดแบบนี้เหมาะมากกับการวิเคราะห์  หรือขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ที่เน้นเรื่องลำดับการเกิดก่อนหลัง เช่น จดขั้นตอนการกรอกข้อมูลสมาชิก จดขั้นตอนการซื้อสินค้า

การเขียน สมุดโน้ต

เทคนิคการจดแบบ Cornell Method

คือการบันทึกที่แบ่งหน้ากระดาษเป็น 3 ช่อง โดยตีเส้นยาวให้ส่วนล่างสุดของหน้าความสูงประมาณ ¼ ของกระดาษ

ด้านบนที่เหลือให้แบ่งเป็นสองฟาก ให้ฟากซ้ายมีขนาดเล็ก ฟากขวาเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ฟากขวามือคือการจด Fact ที่เราได้ยินได้ฟัง, ฟากซ้ายคือการจดความนึกคิดและประเด็นคำถามของเราระหว่างที่ได้ฟังเรื่องราวนี้

ด้านล่างสุดคือการจด Summary หลังจากจบการฟังแล้ว ว่ามีประเด็นอะไรน่าสนใจ เนื้อหาใจความหลักของเรื่องนี้คืออะไร และคุณต้องทำอะไรต่อ

การบันทึก สมุดโน้ต

เทคนิคการจดแบบ Mind Mapping

คือการจดแบบเริ่มต้นประเด็นจากกลางหน้ากระดาษ แล้วค่อยแตกกิ่งเรื่องที่สนใจออกไปเรื่อย ๆ การจดแบบนี้จะทำให้เราเห็นทางเลือก Option ต่าง ๆ เห็นภาพรวมของข้อมูลทั้งหมดในหน้าเดียว

เทคนิคการจดเรื่องราวทั่วไปในปัจจุบันที่ดี คือ ต้องตั้งชื่อให้สิ่งที่กำลังจดทุกครั้ง ที่หัวกระดาษมุมซ้ายบน มุมขวาลงวันที่ และเมื่อจบการประชุมหรือจบการเขียนเรื่องนี้ให้ขีดเส้นใต้ยาวๆ เพื่อปิดประเด็น หรือขึ้นหน้าใหม่เสมอที่เริ่มจด ไม่ว่าการจดครั้งที่แล้วจะใช้กระดาษไปแค่ไหนก็ตาม

3. Planner จดบันทึกการวางแผน

planner, สมุดบันทึก year plan

สมุด planner

เป็นสมุดช่วยวางแผน  เป็นการวางแผนตั้งแต่ระยะสั้น ถึงระยะยาว อาจจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี

การจดอนาคตด้วย Planner นี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อ จบวันแล้วเรามาดูว่าทำได้ตามแผนหรือไม่ มีอะไรที่ไม่ได้ทำ และต้องยกมาทำต่อในวันรุ่งขึ้น ก็จะทำให้ไม่พลาดการทำงาน หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องดูแลภายในบ้าน และเตรียมงานล่วงหน้า หรืออาจจะใช้กับเรื่องเล็ก ๆ ก็ได้อีกด้วย

หลักการจด planner มีดังนี้

หลักการเขียน planner

จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จดบันทึก อาจจะใส่ข้อความกำกับ หรือเพิ่มสีสันให้ เพื่อให้เราเห็นภาพได้ชัดเจน

ใช้ตารางรายเดือนในการกำหนดเป้าหมายใหญ่ๆ เพื่อช่วยให้เรามองเห็นกรอบระยะเวลาสิ่งที่จะต้องทำในแต่ละเดือน

ไม่ต้องจดทุกเรื่องลงในสมุด ควรเลือกจดเฉพาะที่สำคัญ ที่ต้องทำ และที่ต้องจำ เรื่องทั่ว ๆไป เรื่องที่ต้องทำเป็นกิจวัตรซึ่งเราต้องรู้อยู่แล้วก็ไม่ต้องจดก็ได้

สร้างแรงจูงใจในการทำตามเป้าหมาย เหมือนเป็นแรงผลักดันว่าถ้าทำสำเร็จจะมีรางวัลสำหรับตัวเอง

โฟกัสไปโปรเจคที่สำคัญ แค่ 2-3 อย่างในแต่ละสัปดาห์  ไม่งั้นจะแน่นจนขาดประสิทธิภาพ

บทส่งท้าย

เมื่อเราจดบันทึกสมุด 3 เล่มนี้ อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีนิสัย 3 อย่างเกิดขึ้น โดยไม่รู้ตัวคือ คือ เป็นนักเล่าเรื่อง ด้วยการจด Diary, เป็นนักจับประเด็น ด้วยการจด talking note จากการประชุมหรือการเรียนวิชาต่าง ๆ, เป็นนักวางแผนที่ดี ด้วยการจด Planner นั่นเอง

สมุดโน้ต โน้ตบุ๊ค สมุดบันทึก

การจด ย่อมดีกว่า การจำ เพราะเราไม่สามารถจะจำทุกเรื่องราวได้ การจดบันทึกจะช่วยจำและลดคามผิดพลาดเหล่านี้ได้ เริ่มต้นเป็นคนจดบันทึก ด้วยการหาสมุดโน้ตที่ถูกใจ เลือกกระดาษ เลือกขนาด เลือกรูปแบบที่ถนัดได้เลยค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *