การจัดการสินค้าคงคลังอย่างรอบคอบเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริหารในคลังสินค้า ศูนย์คลังสินค้า รวมถึงองค์กรด้านลอจิสติกส์ ซึ่งยังหมายถึงการรักษาภาพตำแหน่งของสินค้าต่าง ๆ ให้แม่นยำและถูกต้อง ทำให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบลื่น
ปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยให้เรามีการบริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการสินค้าคงคลังคือการใช้บาร์โค้ด แล้วบาร์โค้ดมีส่วนในการจัดการสินค้าคงคลังอย่างไร?
ในบทความนี้ เราจะอธิบายถึงความสำคัญของบาร์โค้ดที่ช่วยในการจัดการสินค้าคงคลังของคุณ
สารบัญ
รู้จักบาร์โค้ด: มันทำงานอย่างไร?
บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง มีลักษณะเป็นแถบ ประกอบด้วยเส้นสีดำสลับกับเส้นสีขาว มีความหนาแตกต่างกัน วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง โดยทั่วไปแล้ว บาร์โค้ดเป็นรหัสตัวแทนของตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ สามารถให้ข้อมูลของสินค้าได้ในทันทีแบบ real-time จึงสร้างความโปร่งใสให้ทั้งกระบวนการการขนส่งและกระบวนการผลิต
บาร์โค้ดทำงานร่วมกับเครื่องสแกนบาร์โค้ด (Barcode Scanner) และซอฟต์แวร์ในการแปลสัญญาณต่อประมวลผลข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลไว้ใช้ต่อไป
บาร์โค้ดช่วยในการนับสินค้าและการติดตามสถานะการส่งสินค้า สามารถใช้ระบุสถานที่ตั้งของสินค้า หมายเลขซีเรียล รวมถึงใบสั่งซื้อ เป็นเทคโนโลยีที่ผ่านการทดลองและให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ
บาร์โค้ดมีส่วนช่วยในการจัดการสินค้าคงคลังอย่างไร?
- กำหนดสถานที่สำหรับจัดเก็บสินค้าเฉพาะได้ เช่น ถังขยะ ชั้นวาง หรือห้องเก็บสินค้า โดยการนำเอาระบบบาร์โค้ดมาใช้ในการจัดการสินค้าคงคลัง บริษัทจึงสามารถตรวจสอบตำแหน่งของสินค้าได้อย่างชัดเจนด้วยฉลากบาร์โค้ดที่พิมพ์ออกมา
- ระบบการจัดการสินค้าคงคลังสามารถอัปเดตสถานะของสินค้าได้เมื่อมีการสแกนบาร์โค้ด ระบบยังสามารถสร้างฉลากการจัดส่งและระบุว่าสินค้านั้นจำเป็นต้องเติมหรือไม่ การประยุกต์ใช้บาร์โค้ดในการดำเนินการต่าง ๆ สามารถปรับได้ตามความต้องการของบริษัท
- บาร์โค้ดช่วยย่นระยะเวลาในการดำเนินการต่าง ๆ ให้เร็วขี้นและลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดต่าง ๆ การจัดการสินค้าคงคลังจะแม่นยำมากยิ่งขึ้นด้วยการใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดแทนการใช้กระดาษ
- บาร์โค้ดสร้างความสะดวกและความรวดเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูลและการติดตามสินค้าคงคลัง เมื่อนำมาใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์การควบคุมสินค้าคงคลังหรือ ERP (Enterprise Resource Planning : ซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนจัดการ) บาร์โค้ดจะสามารถประมวลผลธุรกรรมแบบ real-time ได้
โซลูชั่นบาร์โค้ดแบบใดที่ดีที่สุดสำหรับการจัดการสินค้าคงคลัง?
โซลูชันสำหรับบาร์โค้ดถูกผลิตออกมาเพื่อทำให้การรวบรวมข้อมูลสินค้านั้นง่ายขึ้นสำหรับผู้จัดการสินค้าคงคลัง ทั้งยังช่วยปรับปรุงผลิตภาพ การตรวจสอบย้อนกลับ และความถูกต้องแม่นยำเพื่อการดำเนินงานในคลังสินค้าทุกขนาดตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลอัตโนมัติในคลังสินค้าไปจนถึงการเลือก การบรรจุ และการจัดการที่ทำได้อย่างคล่องตัว
เครื่องสแกนบาร์โค้ดสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบคือ แบ่งตามลักษณะการเคลื่อนย้ายและแบ่งตามประเภทของหัวอ่าน
แบ่งตามลักษณะการเคลื่อนย้าย
1. เครื่องแสกนบาร์โค้ดแบบคงที่ (Fixed Barcode Scanner) จะติดตั้งเชื่อมต่อกับเทอร์มินัลและส่งข้อมูลเมื่ออ่านบาร์โค้ดเดียว
2. เครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบไร้สาย (Wireless Barcode Scanner) เมื่ออ่านบาร์โค้ดจะเก็บข้อมูลในบาร์โค้ดไว้ในหน่วยความจำและส่งข้อมูลแบบ real time ไปยังระบบแบ็คเอนด์
3. เครื่องสแกนบาร์โค้ดแบบพกพา (Portable Barcode Scanner) มีคีย์บอร์ดในตัว เมื่ออ่านบาร์โค้ดจะเก็บข้อมูลบาร์โค้ดไว้เพื่อส่งยังคอมพิวเตอร์โฮสต์ในภายหลัง ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่
แบ่งตามประเภทของหัวอ่าน
1. CCD Scanner
มีลักษณะเป็นปืน ลำแสงหนา นำมาใช้งานกลางแจ้งที่มีแสงสว่างมาก ๆ สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีความละเอียดมากได้ลำบากและยิงห่างจากบาร์โค้ดในระยะไม่เกิน 1 นิ้ว จำเป็นต้องใช้บาร์โค้ดที่พื้นผิวแบนเรียบเท่านั้น
2. Laser Scanner
มีลักษณะเป็นเครื่องยิงเลเซอร์เส้นเส้นเดียว ทิศทางเดียว มีทั้งแบบพกพาและคงที่ สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กได้ดีและอ่านข้อมูลบาร์โค้ดในระยะห่างจากบาร์โค้ดได้ไกลกว่าแบบ CCD Scanner
3. Omnidirectional Scanner
มีลักษณะการทำงานเหมือนกับ Laser Scanner แต่สามารถยิงเลเซอร์เพื่ออ่านบาร์โค้ดได้หลายทิศทาง
4. Imager Scanner
มีลักษณะการอ่านบาร์โค้ดด้วยการจับภาพเหมือนกล้องถ่ายรูป สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมาก ๆ และอ่านได้ในระยะที่ห่างจากตัวบาร์โค้ดได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องสแกนแบบยิงเลเซอร์แต่มีการประมวลผลข้อมูลที่ช้ากว่า
ในการเลือกใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดนั้น ให้คุณพิจารณาถึงการใช้งานและงบประมาณที่คุณมี อีกประการที่สำคัญคือคุณสมบัติต่าง ๆ ของเครื่องสแกนบาร์โค้ดมอบผลประโยชน์ให้แก่ธุรกิจคุณมากน้อยเพียงใด
บทส่งท้าย
ปัจจุบันมีการนำเอาโซลูชั่นหลากหลายประเภทมาใช้ในการจัดการสินค้าคงคลัง ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ เครื่องจักร หรือหุ่นยนต์ การใช้บาร์โค้ดคือหนึ่งในเทคโนโลยีที่ทุกธุรกิจควรมีมากที่สุดสำหรับการจัดการสินค้าคงคลัง
จะเห็นได้ว่า บาร์โค้ดเป็นส่วนช่วยยกระดับกระบวนการจัดการสินค้าคงคลังให้ดีขึ้นได้ ทำให้การบริหารงานคลังสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว ง่ายดาย มีประสิทธิภาพ และลดความผิดพลาดต่าง ๆ