ตรายาง คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทำสำเนา และเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการทำงานด้านเอกสาร
ตรายาง มีความจำเป็นมาก ในระบบงานเอกสาร โดยเฉพาะในการทำธุรกิจ
ในปัจจุบัน นอกจากหน่วยงานราชการแล้ว บริษัทก็จะต้องมีตรายาง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้องค์กร
นอกจากนี้ ตรายาง ก็ยังสามารถใช้งานได้กับร้านค้าทั่วไป หรือส่วนบุคคลก็ได้ เช่น เพื่อแสดงชื่อ ที่อยู่ หรือเบอร์โทรศัพท์ หรือการนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบอีกมากมาย อย่างเช่น การตรวจการบ้านของครู การประทับเพื่อสะสมแต้มของร้านค้า
ตรายางคืออะไร
ตรายาง เป็นงานประดิษฐ์ ที่ใช้หมึกหรือสีให้เกิดภาพหรือลวดลายจากแม่พิมพ์ ที่อาจเป็นการแกะสลัก การแกะด้วยเลเซอร์ หรือการหล่อโลหะขึ้นมา ให้เกิดบนแผ่นยางแม่แบบ ยางจะติดผนึกกับบนสิ่งที่แข็งแรงอย่างไม้ หิน บล็อกอะคริลิกที่เป็นสิ่งที่แข็งแรงกว่า ตรายางที่มีหมึก ส่วนมากจะใช้กดทับลงบนกระดาษหรือผ้า
ประเภทของตรายาง
ตรายาง โดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1 ตรายางสำเร็จรูป
เป็นตรายางที่มีการออกมาสำเร็จรูป มีราคาถูกกว่า เพราะออกแบบครั้งแรกครั้งเดียว ไม่ต้องออกแบบทุกครั้งเมื่อสั่งทำตรายาง ทำได้ครั้งละจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนต่ำ มีด้วยกัน 2 แบบ คือ
แบบตรายางด้ามธรรมดา ใช้กันเยอะมากเพราะสะดวกและราคาไม่แพง ใช้คู่กับถาดหมึกปกติ เป็นด้ามไม้หรือด้ามพลาสติกก็ได้
แบบด้ามหมึกในตัว เป็นตรายางสำเร็จรูปที่สะดวกต่อการพกพา และมีต้นทุนสูงกว่า
ข้อดี คือ ราคาถูก
ข้อเสีย คือ มีรูปแบบและข้อความจำกัด เฉพาะที่นิยมใช้กันทั่วไป
2 ตรายางสั่งทำ
แบบด้ามธรรมดา
เป็นตรายางที่มีการใช้งานคู่กับแท่นหมึกตรายาง ด้ามผลิตจากวัสดุพลาสติกโพลิเมอร์ ซึ่งมีความทนทาน เหนียว และแข็งแรง เนื้อยางหล่อจากยางเรซิ่น มีความคมชัดสูง สามารถหล่อได้อย่างรวดเร็ว
เป็นตรายางแบบดั้งเดิม ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน แต่เดิมเนื้อยางจะเป็นยางธรรมชาติ ออกมามีลักษณะเป็นแผ่นสีเทา ก่อนที่จะเกิดตรายางในรูปแบบที่ผลิตจากยางสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็น ไนล่อน เรซิ่น ฯลฯ ที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมนำมาใช้ทดแทนตรายางธรรมชาติกัน
ข้อดี มีความทนทาน ใช้งานได้นาน โดยเฉพาะถ้าเป็นเนื้อยางธรรมชาติ จะสึกหรอช้ากว่า ยางสังเคราะห์และเรซิ่น
ข้อเสีย ไม่สะดวกต่อการพกพา เพราะต้องใช้คู่กับแท่นหมึก
ตรายางหมึกในตัว แบบ Flash Stamp หรือ Dura Stamp
เป็นตรายางชนิดหมึกในตัว ไม่ต้องใช้จานหมึก เนื้อยางผลิตจากแผ่นโฟมซับหมึก ใช้การพิมพ์แบบบนกระดาษไข แล้วนำกระดาษไขไปอัดกับแผ่นโฟมตรายาง ทำให้ได้ภาพบนตรายางที่คมชัดมากกว่า ก้อนยางนิ่ม ซับน้ำหมึกได้ดี มีความคมชัดสูง
ขั้นตอนการผลิตคร่าว ๆ ก็คือนำแผ่นโฟมที่ใช้เฉพาะในการทำตรายางไปสร้างแบบ จากนั้นจึงเอาไปแช่น้ำหมึกแล้วประกอบเข้าบล๊อคตรายาง ตรายางที่ได้จากการแช่น้ำหมึกจะใช้ได้ประมาณ 2,000-3,000 กว่าครั้งจากนั้นก็นำมาเติมใหม่ได้เรื่อย ๆคล้ายกับปากกาหมึกซึม ตรายางชนิดนี้ราคาจะเริ่มต้นที่ประมาณ 200 บาท
ข้อดี คือ มีความคมชัดสูง ซับน้ำหมึกได้ดี
ข้อเสีย คือ หากไม่ได้ใช้งานสม่ำเสมอ น้ำหมึกจะไหลมากองลงมาที่หน้าสัมผัสเยอะ ซึ่งสามารถแก้ไขด้วยวิธีการประทับใส่กระดาษเสียทิ้งไปประมาณ 2-3 ครั้ง ตรายางก็จะกลับมาสะอาดเหมือนเดิม
ตรายางหมึกในตัว แบบพลิก
เป็นตรายางชนิดหมึกในตัว ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง สะดวกในการพกพาได้ เป็นยางธรรมชาติแท้ มีคงทนใช้งานได้นานนับปี
เป็นตรายางเนื้อยางธรรมดา (ซึ่งอาจจะเป็นเนื้อยางพาราหรือเนื้อเรซิ่น แต่ประกอบเข้ากับบล๊อกตรายางที่ทำมาเป็นพิเศษมีตลับหมึกขนาดพอดีกับตัวหน้ายาง โดยปกติเมื่อเวลาไม่ได้ใช้งานตัวหน้าเนื้อยางจะอยู่ในลักษณะที่หน้ายางกดลงไปในถาดหมึก พอเราประทับ เนื้่อยางก็จะพลิกออกมาอีกด้านนึง ตรายางชนิดนี้ จะมีราคาที่สูงกว่าตรายางหมึกในตัวแบบ Flash stamp มาก อีกทั้งยังมีขนาดที่จำกัดอีกด้วย แต่ในเรื่องความทนทาน และพกพาสะดวกนั้น พอๆ กับตรายางหมึกในตัวแบบ Flash Stamp
ข้อดี คือเติมหมึกง่ายกว่า และไม่มีรอยเลอะก่อนใช้งาน
ข้อเสียของตรายางหมึกในตัวแบบพลิกพบว่า ตัวกลไกลของสปลิงในตัวตรายางชอบล็อคเวลากดลงเมื่อใช้ไปนาน แก้ไขได้ด้วยการกดตัวตรายางไปเรื่อย ๆจนกว่าสปริงจะหยุดล็อค
ข้อดีและข้อเสียของการใช้ตรายาง
ข้อดี
1. มีความน่าเชื่อถือ ต่อตัวเองและองค์กร
2. ใช้ในการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่าง ๆ และป้องกันการปลอมแปลงได้เป็นอย่างดี เนื่องจากตรายางถือเป็นของเฉพาะตัวของแต่ละบริษัท
ข้อเสีย
1. ขาดความคล่องตัว เพราะต้องพกพาตรายาง แต่ปัจจุบันมีตรายางที่เป็นแบบหมึกในตัว ช่วยให้การพกพาคล่องตัวมากขึ้น
2. ง่ายต่อการสูญหาย
3. มีความยุ่งยาก ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนรายละเอียดของตรายาง ไม่ว่าจะการแก้ไขข้อมูล หรือการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการจดทะเบียน
วิธีปั๊มตรายางให้ติดและคมชัด
1. ไม่ควรปั๊มบนพื้นที่แข็ง (เช่น พื้นโต๊ะ พื้นไม้ พื้นพลาสติก) โดยตรง ควรมีสมุด หรือหนังสือรองไว้ชั้นหนึ่งก่อน โดยเฉพาะตรายางขนาดใหญ่มาก ๆ
2. ควรตรวจเช็คน้ำหมึกในตลับหมึกอยู่เสมอ ว่าแห้งหรือไม่ ถ้าแห้งควรเติมน้ำหมึก
3. เพิ่มแรงกดในการปั๊มหรือประทับตราอีกเล็กน้อย
4. ตรายางที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ จะทำให้เกิดรอยประทับไม่ทั่วถึง ควรซับหมึกในตลับในทั่วบริเวณเนื้อยาง และใช้อีกมือช่วยกดทับให้ทั่วถึง
วิธีเติมหมึก สำหรับตรายางหมึกในตัว แบบพลิก
1. กดตัวด้ามให้เลื่อนลงมา แล้วค้างไว้
2. ใช้นิ้วดัน หรือค่อย ๆ ดึงจานหมึกตรงตำแหน่งส่วนกลางของตัวด้าม
3. ดึงจานหมึกออกมาจากอีกด้าน แล้วใช้น้ำหมึกเติมหยดลงบนจาน ด้านที่เป็นผ้าสักหลาด พอให้ซึมลงทั่วจาน **อย่าเติมให้เยอะจนน้ำหมึกเยิ้ม
4. รอให้น้ำหมึกซึมลงบนผ้าสัก 30 วินาที แล้วใส่จานหมึกกลับเข้าตัวด้ามดังเดิม
บทส่งท้าย
ในปัจจุบันมีการใช้งานตรายางอย่างหลากหลาย จากที่แต่เดิมจะใช้ในนามหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ เท่านั้น เดี๋ยวนี้อาจจะใช้ในนามส่วนตัว เพื่อความสะดวกและสวยงามในการปั๊มลายเซน หรือการทำตรายางเป็นรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อใช้ประกอบงานศิลปะ เช่น ประทับในของที่ระลึก การ์ดต่าง ๆ เป็นต้น
ถ้าคุณกำลังมองหาตรายาง สำหรับใช้เพื่อกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งส่วนตัวและหน่วยงาน
การออกแบบและสั่งทำตรายาง ทำได้ง่ายมากขึ้น เลือกซื้อหรือสั่งทำออนไลน์ได้เลยค่ะ